วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ช่วงเช้าของวันที่ 22 กรกฎาคม 2552 ในสภาพบรรยากาศที่ก่อนหน้านั้นเต็มไปด้วยเมฆหมอกบนท้องฟ้า (เนื่องมาจากกลุ่มละอองน้ำที่เกิดจากฝนตกในช่วงกลางคืนของวันที่ 21 กรกฎาคม 2552 ยังคงค้างอยู่) เมื่อถึงเวลาประมาณ 08.15 น. กลุ่มเมฆที่หนาทึบค่อยๆ เคลื่อนตัวออกจากกัน (แต่ยังคงไว้ในสภาพบางๆ ) ทำให้สามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ได้ด้วยตาเปล่า เมื่อสังเกตให้ดีจะเริ่มเห็นเงาสีดำเว้าเข้าไปในส่วนวงกลมของดวงอาทิตย์ (ทางด้านล่างซ้าย) นั่นเป็นสัญญาณเริ่มของการเกิดปรากฎการณ์สุริยุปราคาแบบเต็มดวง ที่พวกเราทุกคนตั้งหน้าตั้งตารอมาหลายเดือน จากครั้งที่เคยเกิดสุริยุปราคา (บางส่วน) เมื่อเดือนมกราคม 2552 ที่ผ่านมา เมื่อผ่านไปได้สักพักหนึ่งเมฆหมอกก็เคลื่อนเข้ามาบดบังท้องฟ้าอีกครั้ง ทำให้ไม่สามารถมองเห็นการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบเต็มดวงได้อีกครั้งนี้ถือเป็นการบันทึกภาพประวัติศาสตร์อีกห้วงเวลาหนึ่งของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสระแก้ว เพื่อเป็นการจดจำเหตุการณ์ที่สำคัญ ซึ่งในรอบปีหนึ่งจะเกิดไม่กี่ครั้งการสังเกต และการจดบันทึก ถือเป็นกระบวนแรกของผู้ที่สนใจศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ ดังนั้น การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์จึงต้องอาศัยการใส่ใจ ศึกษาข้อมูล รายละเอียดของสิ่งที่เรากำลังศึกษา ซึ่งจะทำให้เราเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์อย่างสนุกสนานและได้ความรู้ในเวลาเดียวกัน

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552


ในวันพุธ ที่ 22 กรกฎาคม 2552 ตั้งแต่ช่วงเวลาประมาณ 07.00 น. ถึง 09.20 น. จะเกิดปรากฏการณ์ "สุริยุปราคาเต็มดวง" ในครั้งนี้ดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บดบังจนทำให้ท้องฟ้ามืดลงจนสามารถมองเห็นดาวได้สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนี้จะมีช่วงเวลามืดเต็มดวงยาวนานที่สุด ระยะเวลาการเกิดคราสเต็มดวงครั้งนี้นานถึง 6 นาที 39 วินาที ถือว่านานที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21 เพราะนับจากปีนี้ไปอีก 123 ปี จึงจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงยาวนานอีกครั้งหนึ่งในอเมริกากลาง เส้นทางของคราสจะเริ่มต้นที่ประเทศอินเดีย ผ่านประเทศจีน เกาะเล็กๆ ทางใต้ของญี่ปุ่น และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกในช่วงที่คราสเริ่มต้น และสิ้นสุดลง เราจะเห็นปรากฏการณ์ “ลูกปัดเบลี” และปรากฏการณ์ “แหวนเพชร” รวมถึงบรรยากาศของดวงอาทิตย์ในขณะที่ดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บดบังมืดมิดทั้งดวง เรียกว่า “คอโรนา” (Corona) เมื่อท้องฟ้ามืดอันเกิดจากสุริยุปราคาเต็มดวง เราอาจเห็นดาวเคราะห์และดาวฤกษ์หลายดวง เช่น ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวซิริอุส เป็นต้นอุปกรณ์ที่จะช่วยให้มองเห็น เปลวสุริยะ (Prominence) เป็นพวยแก๊สพุ่งออกมาใกล้ขอบดวงอาทิตย์ ก็คือกล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์ แต่การจ้องมองดวงอาทิตย์ตรงๆ อาจมีอันตรายต่อสายตา ดังนั้น จึงควรมีอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันแสงอาทิตย์ เช่น กระจกรมควันดำ หรือ แว่นตาที่ผลิตขึ้นมาใช้ในการดูดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ